กต.ยืนยันจุดยืนต่อคณะฑูตจาก 68 ประเทศ  “กัมพูชา”  ละเมิดอนุสัญญาออตตาวา  ละเมิดอธิปไตยไทย  พร้อมยื่นประท้วงต่อประชาคมโลก เพื่อให้กัมพูชารับผิดชอบ   เยียวยาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ  และเก็บกู้ทุ่นระเบิด  ยังไม่ถึงขั้นเรียกฑูตกลับประเทศ 

วันที่ 23  ก.ค.2568 กระทรวงการต่างประเทศ นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวหลังบรรยายสรุปแก่เอกอัครราชทูต  หรือผู้แทน รวมถึงผู้ช่วยทูตทหาร จำนวน  93 คนจาก 68 ประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา และแถลงผลการบรรยายสรุปโดยมีนางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พลเรือตรีสุรสันต์ คงสิริ โฆษก ศบ.ทก.    พลเอกศักดิ์สิทธิ์ แสงชนินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) และนางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม    อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ   


นายนิกรเดช  กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการบรรยายในวันนี้เพื่อบรรยายสรุปให้แก่คณะทูต    ในเรื่องกำลังพลของกองทัพบก 3 นาย    ประสบเหตุเหยียบกับระเบิดที่ได้รับบาดเจ็บ ขณะลาดตระเวนที่ช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี โดยกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง  ศบ.ทก.ได้แถลงข้อเท็จจริง   เน้นย้ำว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นในแผ่นดินไทย โดยภาพรวมการบรรยายสรุปวันนี้ เป็น 5 ประเด็น ประกอบด้วย1.  ยืนยันการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วัตถุระเบิดที่พบไม่มีการใช้   หรือมีอยู่ในคลังอาวุธของฝ่ายไทย    เป็นทุ่นระเบิดที่วางใหม่ เมื่อประกอบกับการประมวลข้อมูล และหลักฐานนำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า   เป็นทุ่นระเบิดของฝ่ายกัมพูชา    และถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง

2.รัฐบาลไทยได้มีแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรงที่สุด ต่อการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล   ที่ถือเป็นการละเมิดอธิปไตย และเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ ตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ   และยังเป็นการกระทำที่ละเมิดพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาออตตาว่าอย่างชัดเจน

3.จากหลักฐานทั้งหมดที่ได้มีการรวบรวม และตรวจสอบอย่างรอบคอบ รัดกุม จากฝ่ายความมั่นคง    กระทรวงการต่างประเทศได้มอบหนังสือประท้วงอย่างเป็นทางการให้ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย    เพื่อประท้วงกัมพูชาว่า  ได้ทำการละเมิดอธิปไตยของไทย    ไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาออตตาว่า และขอให้ฝ่ายกัมพูชาตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น    แสดงความรับผิดชอบ เยียวยาผู้เสียหาย รวมทั้งขอให้เก็บกู้ทุ่นระเบิดตามที่เคยได้ตกลงกันไว้

4.กระทรวงการต่างประเทศ โดยเอกอัครราชทูตผู้แทนประจำสหประชาชาติ นครเจนีวา    ได้มีหนังสือถึงเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำการประชุมรัฐภาคี ว่าด้วยการลดอาวุธ โดยการประชุมพันธอนุสัญญาว่าด้วยรัฐภาคีตามอนุสัญญาออตตาวา   ที่มีเนื้อหาเช่นเดียวกับการประท้วงกัมพูชา ว่าเนื่องด้วยการที่ไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญา    ที่มีความรับผิดชอบต่อประชาคมระหว่างประเทศ    จึงต้องปฏิบัติตามพันธกรณี    ในการรายงานเหตุการณ์การละเมิดพันธกรณีของกัมพูชาตามมาตรา 1   ของอนุสัญญา    และย้ำว่าไทยต้องการใช้กลไกรัฐภาคีกับกัมพูชาดำรงไว้เพื่ออนุสัญญาออตตาวา    ในฐานะรัฐภาคี โดยไทยต้องการใช้การหารือทวิภาคีกับกัมพูชา
และ    5.ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเน้นย้ำจุดยืนของไทย  ที่ยึดถือหลักปฏิบัติสากลกฎหมายระหว่างประเทศ    กฎหมายสหประชาชาติพันธกรณีของประเทศไทยและในขณะเดียวกันไทยยังคงพร้อมที่จะพูดคุยหาทางออกกับฝ่ายกัมพูชา    ผ่านกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ 

นายนิกรเดช กล่าวต่อว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาตนเองได้บอกกับสื่อมวลชนว่า  นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์  รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้เดินทางไปที่นครนิวยอร์ก    เพื่อไปร่วมการประชุม    ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่อยู่ระหว่างการเดินทางไปร่วมประชุมหารือแห่งการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน    ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ   นิวยอร์ก    ได้พบผู้แทนระดับสูงต่างประเทศ และจะใช้โอกาสนี้ยืนยันจุดยืนของประเทศไทยต่อประชาคมโลก     โดยเฉพาะหลักการของไทยที่มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีและเจรจาผ่านกรอบทวิภาคี ซึ่งล่าสุดวันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  ได้พบกับรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของปากีสถาน    ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมของปานามา    ซึ่งจะเป็นประธานคนต่อไป    ซึ่งทั้งสองคนเห็นพ้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาของไทย   ว่าเราจะใช้กลไกทวิภาคี    และหากมีการละเมิดอนุสัญญาออตตาวาก็จะต้องแก้ไข

เมื่อถามถึงประเด็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่วผลกระทบต่อการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการทุนระเบิดแห่งชาติ หรือ T-Mac  มากน้อยแค่ไหน นายนิกรเดช    ยืนยันว่าไม่กระทบ เพราะยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการปฏิบัติต่อเนื่องบริเวณชายแดนฝั่งไทยมาโดยตลอด เนื่องจากเราไม่เคยมีกลไกที่มีความร่วมมือกับกัมพูชาอย่างเป็นทางการ อย่างเช่น เรื่องทุ่นระเบิดเป็นโปรเจ็คโมเดลที่ได้ทดลอง ดังนั้นตนเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ย่อมทำให้เกิดความตื่นตัวในฝั่งไทย 

ต่อจ้อซักถามถามว่าประเด็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอนุสัญญาออตตาว่า  นายนิกรเดช  กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่เป็นรัฐภาคีทำหน้าที่อย่างถี่ถ้วนสมบูรณ์มาโดยตลอดเช่นกัน และสิ่งที่เราทำวันนี้ คือ การยื่นจดหมายก็เป็นไปตามมาตราที่ 1 ของอนุสัญญา ที่รัฐภาคีจำเป็นต้องรายงานหากพบเจอทุ่นระเบิดก็ต้องรายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ประเทศไทยได้ยื่นสถิติของการมีทุ่นระเบิดในครอบครองทั้งหมด   ยืนยันให้เห็นการเป็นประเทศที่มีความรับผิดชอบ ในฐานะรัฐภาคี   ยังมีความรับผิดชอบต่อประชาคมระหว่างประเทศอย่างสูงสุด 


เมื่อถามว่าสถานการณ์ทางแนวชายแดนดูรุนแรง และเกิดการยั่วยุบ่อยครั้งสถานการณ์แบบนี้   จะทำให้กระทรวงการต่างประเทศ ต้องพิจารณามาตรการตอบโต้เข้มข้นกว่าการประท้วงเป็นเอกสารหรือไม่   เช่น   เรียกทูตกลับมา หรือส่งทูตกัมพูชากลับไป นายนิกรเดช ยืนยันว่า ยังไม่ถึงขั้นนั้น ในขั้นตอนนี้ได้มีการถาม-ตอบในที่บรรยายเช่นกัน  เนื่องจากเราย้ำตลอดว่าเราต้องการแก้ไขปัญหาผ่านช่องทางทวิภาคีและเอกอัครราชทูต   เป็นกลไกสำคัญ ที่จะเปิดช่องให้มีการหารือทวิภาคี ดังนั้นฝ่ายไทยยังไม่ได้มีการพิจารณาไปถึงจุดนั้น